เมนู

หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ
ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศล
ธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำ
ที่พึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็น
ผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง 10 ประการนี้แล.
จบทุติยนาถสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยนาถสูตรที่ 8


ทุติยนาถสูตรที่ 8

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เถรานุกมฺปิตสฺส ได้แก่ ผู้ที่พระเถระทั้งหลายอนุเคราะห์
ด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ที่อุตสาหะเพราะการโอวาทและพร่ำสอน
เป็นเหตุ.
จบอรรถกถาทุติยนาถสูตรที่ 8

9. ปฐมอริยวสสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ 10 ประการ


[19] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระ-
อริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี 10 ประการนี้ 10 ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ 5 ได้แล้ว 1 ประกอบด้วย
องค์หก 1 รักษาแต่อย่างเดียว 1 มีธรรมเป็นที่พักพิง 4 ประการ 1 มี
ปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว 1 มีการแสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี 1 มี

ความดำริไม่ขุ่นมัว 1 มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว 1 มีจิตหลุดพ้นแล้ว
ด้วยดี 1 มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
เป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี
10 ประการนี้แล.
จบปฐมอริยวสสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมอริยวสสูตรที่ 9


สูตรที่ 9

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยวาสา ได้แก่ ที่ชื่อว่า อริยวาส ก็เพราะเป็นที่ ๆ พระ-
อริยะทั้งหลายอยู่แล้ว กำลังอยู่ จักอยู่จบพรหมจรรย์. คำว่า ยทริยา ตัด
บทว่า เย วาเส อริยา.
จบอรรถกถาปฐมอริยวสสูตรที่ 9

10. ทุติยอริยวสสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ 10 ประการ


[20] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของชาวกุรุ
ชื่อกัมมาสธรรม ในแคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
เป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี
10 ประการนี้ 10 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละ
องค์ 5 ได้แล้ว 10 ประกอบด้วยองค์หก 1 รักษาแต่อย่างเดียว 1
มีธรรมเป็นที่พักพิง 4 ประการ 1 มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว 1 มีการ
แสวงหาอันสละแล้วด้วยดี 1 มีความดำริไม่ขุ่นมัว 1 มีกายสังขารอันสงบ